หอมหัวใหญ่
ที่มา : https://medthai.com
พันธุ์ของหอมหัวใหญ่
หอมหัวใหญ่แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
1.พันธุ์กลางวันยาว จะลงหัวเมื่อได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์วันหนึ่งๆ ประมาณ 12-16
ชั่วโมง เป็นพันธุ์เบา มักจะมีอายุสั้น คือ
ตั้งแต่เพาะเมล็ดจนถึงเก็บหัวได้ มีอายุ 85-125 วัน
และจะเก็บหัวได้ในต้นฤดูฝน หัวหอมที่ใกล้แก่ เมื่อถูกฝนแล้วมักจะเน่า
เก็บไว้ไม่ได้นาน อนึ่งในเดือนมีนาคม เมษายน อากาศร้อนขาดแคลนน้ำที่จะใช้รด
ไม่เหมาะที่จะปลูกในประเทศไทย จะต้องปลูกปลายฤดูหนาว
2. พันธุ์กลางวันสั้น
เหมาะสำหรับปลูกในประเทศไทย ต้องการแสงสว่างเพียงวันละ 9-10 ชั่วโมง
ก็ลงหัวได้ เป็นพันธุ์หนัก มีอายุ 165 -180 วัน
พันธุ์ ที่นิยมปลูกในบ้านเรา
-พันธุ์
กราเน๊กซ์ มีทั้งพันธุ์ เยลโลกราเน๊กซ์ มีทั้งหัวกลมและหัวแบน เป็นหัวเร็ว
และแก่สม่ำเสมอกัน หัวใหญ่แต่คอเล็ก สามารถเก็บไว้ได้นาน
-พันธุ์เอ็กเซลเป็นพันธุ์ที่ได้มาจากเยลโลเบอร์มูดา
เป็นหัวเร็ว ขนาดปานกลางแต่ไม่ค่อยสม่ำเสมอกันนัก ขนาดของหัวปานกลาง
เก็บไว้ได้นานกว่าพันธุ์แรก
-พันธุ์
เรดโกล้บ พันธุ์นี้ได้หัวไม่เร็วนักและแก่ไม่สม่ำเสมอ แต่เก็บไว้ได้นานกว่า 2
พันธุ์แรก ขนาดของหัวเล็ก
นอกจากนี้ยังมีพันธุ์อื่นๆ อีก เช่น
เรคตรีโอล เรดแคบารี่ เออริลี่เทกซัสคราโน และแยลโลเบอร์มูดา เหล่านี้ให้ผลดีพอใช้
ขนาดของหัวปานกลาง และให้ผลช้ากว่า 3 พันธุ์แรก
สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม
หอมหัวใหญ่ชอบดินร่วนซุย
มีความอุดมสมบูรณ์และสามารถอุ้มน้ำได้ดี หอมจะให้หัวเร็ว ส่วนในดินทราย
ปนตะกอนและดินเหนียว ที่มีอินทรีย์วัตถุปนอยู่ด้วย ก็สามารถปลูกได้ดีเหมือนกัน
ถ้าเป็นดินที่เหนียวมาก เมื่อเปียกน้ำดินจะจับตัวกันเป็นก้อน ถ้าขาดน้ำดินจะแตกระแหง
ทำให้ต้นเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร ควรแก้ไขดินเหนียว โดยการใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ หรือ
ปุ๋ยอินทรีย์วัตถุอื่นๆ จะได้ผลดียิ่งขึ้นหอมหัวใหญ่ชอบอากาศกลางวันอบอุ่น-ร้อนกลางคืนเย็น
อุณหภูมิสูงตอนปลายฤดูปลูกจะทำให้แก่เร็ว ฤดูปลูกที่เหมาะสมจึงควรลงมือเพาะเมล็ดในต้นเดือนตุลาคมเมื่อหมดแล้วแต่อย่างช้าไม่เกินเดือนพฤศจิกายน
การเตรียมพันธุ์ปลูก หอมหัวใหญ่ในบ้านเรานิยมปลูก 2 วิธี คือ
1. การใช้เมล็ดปลูก ภายหลังการเตรียมต้นเสร็จแล้ว โรยเมล็ดลงในแปลง เป็นแถวยาว
ระหว่างแถวห่างกันประมาณ 20-25 เซนติเมตร
ทางที่ดีควรหยอดเมล็ดลงเป็นหลุมๆ หลุมหนึ่งห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตรและลึกประมาณ
2.5 เซนติเมตร แต่ถ้าเป็นดินทรายควรลึก 5 เซนติเมตร หยอดเมล็ดหลุมละ 1-3 เมล็ด
ตามปกติแล้วปริมาณของเมล็ดที่ใช้ต่อไร่ประมาณ 4 กิโลกรัม
แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพและเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก
และความประสงค์ที่จะใช้เป็นหอมสด ใช้ต้นเป็นอาหาร ปริมาณของเมล็ดก็ต้องมากกว่านี้
เพราะต้องใช้ระยะปลูกมากขึ้น
2. ปลูกโดยใช้กล้า เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูงมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะประหยัดเมล็ด
เมื่อกล้ามีขนาดโตพอที่จะย้ายลงแปลงปลูกได้ คือมีอายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ ถอนมารวมกันเป็นมัดๆ ก่อนที่จะถอนกล้าขึ้น
ควรใช้น้ำรดแปลงเพาะให้ชุ่มแล้วจึงถอนกล้าขึ้น ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการถอนกล้า
และจะทำให้รากน้อยลง เมื่อถอนแล้ว ก่อนนำไปปลูกควรเก็บไว้ในที่เย็นและชื้น
หรือเก็บไว้ในร่ม ระยะปลูกระหว่างต้น 8-10 เซนติเมตร
ไม่ควรปลูกเป็นกอจะทำให้หัวเล็ก และไม่ควรตัดใบและรากจะทำให้หัวน้อยลง
ผลดีของการใช้กล้าปลูก คือ
ทำให้ปริมาณของเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้น้อยลง คือประมาณ 2.5-3 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น
ให้หัวใหญ่และมากกว่าวิธีแรก และขนาดของหัวสม่ำเสมอกัน
การป้องกันกำจัดศัตรูพืชทำได้ง่าย แต่ข้อเสียคือต้องใช้แรงงานมาก
ใช้ระยะเวลานานและต้องการเนื้อที่สำหรับทำแปลงด้วย
การเตรียมแปลงเพาะกล้า
การเตรียมดินเพาะกล้า
ควรจะเริ่มลงมือกระทำในเดือนพฤศจิกายน ขุดหรือไถให้ลึกประมาณ 12-15 เซนติเมตร
ตากดินไว้ให้แห้งไม่น้อยว่า 1 เดือน แล้วไถแปลอีกครั้งหนึ่ง
แล้วทำการยกร่องให้สูงประมาณ 25 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร ยาวตามความต้องการ ย่อยดินในแปลงเล็กให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอกเก่าๆ
ลงในแปลงบ้าง หรืออาจจะใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 6-10-8 หรือ 6-12-16
ขนาดที่ใช้สำหรับแปลงขนาด 10 ตารางกิโลเมตร
ใช้ประมาณ 3-4 กิโลกรัม
ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยให้ต้นกล้าเจริญงอกงามด้วย เมื่อเอาปุ๋ยโรยทั่วแล้ว
ใช้คลาดเกลี่ยกลบปุ๋ยให้ลึกประมาณ 2-5 เซนติเมตร
เกลี่ยหน้าดินให้เรียบเสมอกัน ยกขอบแปลงเล็กน้อยเพื่อกันน้ำไหลชะเมล็ดออกจากแปลง
แล้วจึงเอาเมล็ดมาหว่านลงไป เมล็ดพันธุ์ ที่จะนำมาเพาะ
ควรคลุกเคล้าด้วยยาฆ่าเชื้อโรคเสียก่อน เช่น อะราแซน หรือซีรีแซนก็ได้
ทั้งนี้เพื่อป้องกันโรคโคนเน่า ซึ่งอาจจะติดมากับเมล็ดก็ได้
โรยตามขวางให้เป็นแถวของแปลงเพาะห่างกัน 10 เซนติเมตร
อย่าหว่านให้ถี่เกินไป จะทำให้ต้นกล้าไม่เจริญงอกงาม และ อาจทำให้เกิดโรคโคนเน่าได้เช่นกัน
เมื่อหว่านเมล็ดเสร็จแล้ว ควรใช้ดินร่วนๆ หรือแกลบเก่าๆ โรยกลบเมล็ด ให้หนา 1
เซนติเมตร อย่าให้หนาหรือบางกว่านี้
เพราะถ้าบางไปเมล็ดอาจถูกน้ำพัดไปหมด หรือถูกมดและแมลงทำลายได้โดยง่าย
แต่ถ้าหนาเกินไปจะทำให้เมล็ดงอกได้ช้า การใช้ดินร่วน หรือแกลบโรยนั้น
ก็เพื่อให้กล้าหอมโผล่พ้นดินง่ายขึ้น เมื่อเอาดินหรือแกลบกลบเรียบร้อยแล้ว
จึงเอาบัวรดน้ำให้ต้นเปียกชุ่ม น้ำต้องรดเสมอๆ เมื่อเห็นว่าดินในแปลงเพาะนั้นแห้ง
หรือประมาณ 3-4 วันต่อครั้ง
ตามปกติเมล็ดที่ยังใหม่อยู่จะงอกภายใน 3-5 วัน
ถ้าเป็นเมล็ดเก่าค้างปีจะงอกภายใน 5-7วัน ต้นหอมที่งอกใหม่ๆ
จะมีขนาดโต กว่าเส้นผมเล็กน้อย
แล้วจะค่อยๆ โตและงอกสูงขึ้นตามลำดับ ในระหว่างนี้ควรดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด
ถ้าเห็นว่าต้นกล้าใดที่อ่อนแอ ก็ควรถอนทิ้ง
เพื่อว่ากล้าที่เหลืออยู่จะได้เจริญดีขึ้น
การปฏิบัติรักษาแปลงเพาะ
เมื่อเมล็ดงอกแล้ว
อย่ารดน้ำให้ดินเปียกโชกนักจะทำให้เกิดโรคโคนเน่าได้
ถ้าเพาะในระยะเดือนที่ยังมีฝนตกอยู่ก็ควรมีผ้าคลุมแปลง และต้องเปิดให้ถูกแสงแดดมากๆ
เพื่อต้นกล้าจะได้แข็งแรง จะใช้ผ้าคลุมเมื่อเวลาฝนตกเท่านั้น
ต้นกล้างอกสูงพ้นจากดินประมาณ 10
เซนติเมตร ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าคลุมอีก
ส่วนการเพาะเมล็ดในหน้าหนาวไม่จำเป็นต้องคลุม เมื่อต้นกล้างอกสูงประมาณ 10 เซนติเมตร หรือประมาณ 25
วัน ควรใช้ปุ๋ยหยอดหน้า เช่น โพแทสเซียมไนเตรท หรือ ยูเรีย หรือ ซัลเฟตออฟแอมโมเนีย
ผสมน้ำรดทุกๆ สัปดาห์ อัตราปุ๋ยที่ใช้ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ
1 ปี๊บ ควรใช้ฝักบัวที่มีรูเล็กๆ เมื่อรดแล้วใช้น้ำเปล่าๆ
รดล้างปุ๋ยที่ติดอยู่กับใบและต้นอ่อน
แต่อย่างไรก็ตามการใช้ปุ๋ยควรพิจารณาถึงความเจริญเติบโตของต้นกล้าด้วย
ถ้าเห็นว่าเจริญเติบโตดีอยู่แล้ว อาจไม่ต้องใช้ ปุ๋ยเลยก็ได้ และระหว่างนี้เมื่อพบวัชพืชขึ้นรบกวนก็ควรถอนออกทำลายเสีย ต้นกล้าที่ได้รับการปฏิบัติดูแลรักษาอย่างดี
พออายุได้ประมาณ 40-45 วัน
จะสูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีใบ 4-5 ใบ
การเตรียมแปลงปลูก
การเตรียมแปลงปลูกที่ได้ผลดีก็คือ การยกร่องปลูก
โดยภายหลังจากที่ไถและคราดจนดินละเอียดดีแล้ว ปล่อยทิ้งไว้นานๆ แล้วจึงยกแปลง
ถ้าเป็นที่ดอนไม่ต้องยกให้สูงมากนัก คือปริมาณ 15-20 เซนติเมตรก็พอ การยกร่องจำเป็นอย่างยิ่ง
และควรสูง กว่านี้ ความกว้างของแปลงประมาณ 1 เมตร ส่วนความยาวไม่จำกัด
แต่ขอให้มีความสะดวกในการเดินเข้าออก ไม่ต้องเดินอ้อมไปตักน้ำไกลๆ
หรือเหยียบย่ำข้ามแปลงอื่นๆ เสร็จแล้วใช้ปุ๋ยมูลสัตว์เก่าๆ
คลุกเคล้าให้เข้ากับดินอีกทีหนึ่ง เมื่อเตรียมแปลงปลูกเสร็จแล้ว
ให้ทำแถวลงในแปลงหนึ่งๆ ห่างกันประมาณ 20-25 เซนติเมตร
ใช้ไม้กลมๆ ขนาดเท่าด้ามปากกาหมึกซึมปักลงไปตามแถวให้ลึกเพียง 2 เซนติเมตร ห่างกัน 10-12 เซนติเมตร
เมื่อหย่อนกล้าลงในหลุมแล้ว ใช้ปลายนิ้วกลางเขี่ยกลบดิน ไม่ต้องกดดินให้แน่น
เวลารดน้ำดินจะแน่นติดจับรากเอง เมื่อปลูกเสร็จแล้ว หอมหรือกระเทียมก็ได้
แต่ต้องคลุมให้ นานๆ เพื่อต้นหอมจะได้แทงใบขึ้นง่าย การใช้ฟางคลุมแปลงนั้นเพื่อป้องกันมิให้หญ้าขึ้น
และช่วยสงวนความชุ่มชื้นในดิน
การปฏิบัติดูแลรักษา
1. การให้น้ำ
เมื่อปลูกเสร็จแล้วต้องรดน้ำให้ชุ่มและจะรดอีกเมื่อไรนั้นให้สังเกตดินในแปลง
ถ้าดินแห้งก็เริ่มรดน้ำ แต่ถ้าในแปลงใช้ฟางคลุมแล้วราวๆ 7-10 วัน
จะรดน้ำสักครั้งหนึ่ง หรือถ้าปล่อยน้ำแบบปล่อยน้ำเข้าแปลงก็ได้
ก็ให้ปล่อยน้ำประมาณ 2 อาทิตย์ต่อครั้ง
หอมที่ปลูกลงหัวมีขนาดปานกลาง จึงหยุดรดน้ำ เพื่อช่วยให้หัวแก่เร็ว
2. การใส่ปุ๋ย หอมมีรากตื้น
ขนาดของลำต้นจึงขึ้นอยู่กับการใส่ปุ๋ยด้วย ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน
ความเป็นกรดและการระบายนํ้า เวลาที่เหมาะสมสำหรับการที่ใส่ก็คือปุ๋ย
ใส่ก่อนที่จะปลูกประมาณ 2-3 วัน
หอมที่ปลูกโดยใช้กล้า ควรให้ปุ๋ยลึกลงไปประมาณ 3-4 นิ้ว
จากระดับผิวหน้าดิน ปุ๋ยที่ใช้อาจเป็นปุ๋ยจากมูลสัตว์
หรือถ้าจะใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็ควรใช้สูตร 6-10-8 หรือ 6-12-16
อัตราที่ใช้ประมาณ 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ภายหลังจากลงแปลงปลูกไปแล้ว
ประมาณ 20-25 วัน
ซึ่งจะเป็นระยะพอดีกับการพรวนดินถอนหญ้าครั้งแรกเสร็จ
ควรใช้ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโต สูตร 26-14-0 ประมาณ 20-25
กก. ต่อไร่ สำหรับดินร่วนทราย และประมาณ 40 กก.
ต่อไร่ สำหรับดินค่อนข้างเหนียวภายหลังจากใส่ครั้งแรกแล้วประมาณ 25 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ในอัตรา 20-25 กก. ต่อไร่ การให้ปุ๋ยนี้จะมากหรือน้อยครั้ง
เกษตรกรควรจะสังเกตดูสภาพของต้นหอมหัวใหญ่ประกอบไปด้วย
หากเห็นว่าไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควรก็ควรจะให้ปุ๋ยทันที
3. การพรวนดินดายหญ้า
หอมเป็นพืชที่มีรากมาก การพรวนดินต้องทำน้อยครั้ง เมื่อต้นยังเล็กอยู่ควรพรวนให้ 2-3 ครั้ง เพื่อปราบวัชพืช เมื่อต้นสูงสัก
10 นิ้วขึ้นไปจึงหยุดพรวน เพราะรากแผ่เต็มไปทั้งแปลง
ต้นก็ใหญ่ ใบก็ยาว พรวนลำบาก เพียงแต่คอยถอนหญ้ามิให้แย่งอาหารและรบกวนต้นหอมก็พอแล้ว
การใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมแปลงจะเป็นการป้องกันวัชพืชได้มาก
4. การพ่นยากำจัดแมลง
การพ่นยาในฤดูหนาวอาจถี่กว่า 10-15 วันครั้ง เพราะอาจอยู่ในช่วงที่เกิดโรกระบาดได้ง่าย ขณะเดียวกันในด้านแมลง
หากปลูกบริเวณกาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ อาจมีหนอนกระทู้หอมระบาด จึงไม่ควรประมาท
ดังนั้นการกำหนดว่าฤดูหนาวพ่นห่างฤดูฝนพ่นถี่
จะไม่เหมาะสมในกรณที่เกิโรค-แมลงระบาดมากในฤดูหนาว
ศัตรูของหอมหัวใหญ่
แมลง
แมลงศัตรูหอมหัวใหญ่มีหลายชนิด เช่น มดง่าม แมงกะชอน หนอนกระทู้ เพลี้ยไฟ
1. มดง่าม ยาที่ใช้ควรใช้ยาเคมี
ออลดริน ชนิดผง ละลายน้ำ โดยผสมน้ำ 1 ช้อนแกงต่อ 1 ปี๊บฉีดให้ทั่ว
2. แมงกะชอน
ยาที่ใช้เช่นเดียวกับมดง่าม
3. หนอนกระทู้
หนอนกระทู้หลายชนิดทำลายหอม โดยกัดกินใบทั้งกลางวันและกลางคืน
และมักหลบอาศัยกิดกินในใบ (หลอด) หอม ทำให้การป้องกันกำจัดโดยการใช้ยาลำบาก
และไม่ใคร่ได้ผล หนอนกระทู้ที่พบเสมอๆ ได้แก่ หนอนกระทู้ผัก และหนอนกระทู้หอม
โดยเฉพาะหนอนกระทู้หอม พบทำลายหอมอย่างรุนแรง ในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์
ตั้งแต่หลังฤดูฝนเป็นต้นไป ซึ่งเข้าใจว่าระบาดไปจากจังหวัดราชบุรี
หากปล่อยให้หนอนกระทู้หอมระบาดมากแล้วจะกำจัดยาก จึงควรหมั่นตรวจดูแปลง
เมื่อพบไข่เป็นกลุ่มมีใยสีขาวนวลหุ้ม (ไข่หนอนกระทู้หอม)
หรือกลุ่มใหญ่กว่ามีใยสีน้ำตาลอ่อนหุ้ม (ไข่หนอนกระทู้ผัก) ให้รีบทำการพ่นยาทุก 3-5 วัน จนกว่าจะหมดไป
ยาฆ่าแมลง ที่ควรใช้สำหรับหนอนกระทู้ผักไม่ใคร่มีปัญหานัก ยาธรรมดา เช่น เซวิน 85%
อัตรา 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บก็ใช้ได้ แต่สำหรับหนอนกระทู้หอม เป็นปัญหามากในการเลือกใช้ยา
จำเป็นต้องใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า เช่น ทามารอน และไนรูซิน อัตราผสมอย่างละ 2
ช้อนโต๊ะ แล้วผสมน้ำ 1 ปี๊บ เวลาพ่นควรเติมยาจับใบเพื่อให้ผลในการกำจัดดียิ่งขึ้น 4. เพลี้ยไฟ จัดเป็นเพลี้ยชนิดหนึ่งสีน้ำตาล
ขนาดเล็กมากแต่ยังมองด้วยตาเปล่าได้ มีลักษณะลำตัวเล็กบาง ขนาดความยาวประมาณ 1/5
ซม. หรือ 2 ซม.
ดูดน้ำเลี้ยงตามโคนใบระหว่างก้าน ทำให้ใบเป็นจุดด่าง แล้วจะค่อยๆ แห้งไปในที่สุด หอมจะชะงักการเจริญเติบโต
อาจทำให้ลำต้นเน่าถ้าชุ่มน้ำ แมลงชนิดนี้มักระบาดในฤดูอากาศร้อน แห้งแล้ง
ถ้าพืชอ่อนแอขาดน้ำ จะเป็นอันตรายมาก
ควรหมั่นตรวจดูอาการและสังเกตตัวเพลี้ยตามซอกกาบใบ แล้วรีบพ่นยากำจัด เช่นยาพวก มาลาไธออน
หรือ เซวิน 85% ขณะเดียวกันควรบำรุงพืชให้เจริญ
การเพิ่มปุ๋ยทางใบจะช่วยให้ หอมฟื้นตัวเร็วขึ้น
โรคที่สำคัญของหอมหัวใหญ่
1. โรคใบเน่า
หรือ โรค แอนแทรคโนส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราจะทำให้ใบเป็นจุดสีเขียวหม่น
ซึ่งจะขยายกว้างออกไปอย่างรวดเร็วจนเป็นแผลใหญ่ รูปไข่
เนื้อใบที่เป็นแผลเป็นแอ่งต่ำกว่าระดับเดิมเล็กน้อย
บนแผลมักมีสปอร์ของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ติดอยู่ มีลักษณะเป็นหยดของ
เหลวข้น สีส้มอ่อนอมชมพู เมื่อเวลาแห้งแล้วจะเป็นสะเก็ดแข็งอยู่บนแผล
และมีสีคล้ำลง ทำให้มองเห็นเป็นตุ่มสีน้ำตาล หรือดำเรียงเป็นวงกลมซ้อนๆ
กันหลายชั้น กว้างออกไปตามขนาดของแผล
ส่วนมากใบที่กำลังเน่าจะหักพับไปตรงรอยที่มีแผลใหญ่เกือบรอบใบ
และใบที่มีแผลหลายแผล หรือมีแผลใหญ่มาก ปลายใบ หรือใบจะแห้ง หรือเน่ายุบหายไปหมด
บางต้นไม่มีใบดีเหลืออยู่เลย หัวจะเน่ายุบไปหมดด้วย
เชื้อโรคถูกชะล้างลงไปทำลายจนถึงส่วนที่อยู่ติดดิน
ทำให้ต้นเน่าตายหรือมีแผลที่หัวด้วย เก็บเกี่ยวไม่ได้
หรือถ้าเก็บหัวได้โรคก็จะติดไปแพร่ระบาดในระหว่างเก็บรักษา และจำหน่าย ทำให้หัวเน่าได้อีกโรคนี้เกิดในระยะที่มีความชื้นสูง
เช่น ในระยะที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน หรือระยะที่มีหมอกลงจัดติดต่อกันหลายวัน
การแพร่ระบาดของโรคเกิดกว้างขวางรวดเร็วมาก
เป็นโรคที่ร้ายแรงของหอมหัวใหญ่ที่กาญจนบุรี
ที่เชียงใหม่ก็เคยระบาดเสียหายมากในบางปี
การป้องกันกำจัด การปลูกหอมในแหล่งที่มีโรคนี้ระบาดมาก
จำเป็นต้องฉีดพ่นยาอย่างหนักและบ่อยครั้งในระยะที่มีสภาพสิ่งแวดล้อมเหมาะต่อการเกิดโรค
เพราะส่วนมากยาจะถูกชะล้างออกไปจากใบพืชมาก
โอกาสที่เนื้อเยื่อพืชจะติดโรคจะมีได้มาก การฉีดพ่นยาจึงเพียงชะงักโรคได้บ้าง
ทำให้เสียหายน้อยลง
2. โรครากเน่า
โรคนี้เกิดจากเชื้อราที่อยู่ในต้น อาการเริ่มเป็นเมื่อหอมมีใบแก่เริ่มแห้ง
โดยแห้งจากใบรอบนอกก่อน เมื่อถอนต้นดูจะเห็นว่าต้นหอมหลุดจากต้นได้ง่าย
เพราะรากและโคนต้นเน่าเปื่อยเป็นสีน้ำตาลการเน่าจะลามเข้าไปในกาบของหัวหอม
ทำให้มีรอยช้ำ กำใช้มือกดหรือบีบหัวหอม จะพบว่าภายในหัวหอมนิ่มหรือเน่า
แล้วในเวลาที่มีอากาศชื้นจะสังเกตเห็นมีราสีขาว เป็นเส้นใยฟูละเอียดบนผิวดิน
และบนส่วนที่เป็นโรคด้วย
การป้องกันกำจัด เมื่อหอมเป็นโรคนี้จะแก้ไขได้ยากมาก
ควรที่จะรีบเก็บเอาต้นที่เป็นโรคออกไปเผาทำลายเสีย ในการปลูกพืชคราวต่อไป
จะต้องมีการปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยพยายามปรับดินให้มีความเป็นกรดอ่อนๆ
เกือบเป็นกลาง และเพิ่มอินทรียวัตถุ ที่เป็นกากพืชสดและปุ๋ยคอก
จะช่วยให้โรคนี้ลดความรุนแรงลงได้ระยะหนึ่ง
ถ้าจะให้การป้องกันโรคนี้ได้ผลดีขึ้นแล้ว ควรจะทำการปลูกพืชอื่นสลับไม่ต่ำกว่า 5 ปี ไม่ควรใช้ยาเคมีชนิดใดๆ
รดหรือฉีดพ่นลงไปในดิน
เพราะนอกจากไม่ได้ผลแล้วยังทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นอีกด้วย
3. โรคหัวและรากเน่า
เกิดจากเชื้อราในดินที่เรียกว่า ราเม็ดผักกาด
เมื่อเกิดโรคนี้ต้นหอมเริ่มมีใบแก่เหี่ยวแห้งไป กาบหัวหอมช้ำน้ำ และมีเส้นใยราสีขาวเป็นเส้นหยาบ
มองเห็นชัดด้วยตาเปล่าขึ้นอยู่บนแผล และตามรากซึ่งเน่าเป็นสีน้ำตาล
ในดินก็จะพบเส้นใยของราเจริญอยู่ตามโคนต้น
นานไปจะพบเม็ดราเริ่มเป็นสีขาวขนาดเล็กและโตขึ้นจนเม็ดมีขนาด ประมาณเม็ดผักกาด
สีจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลขึ้นปะปนอยู่กับเส้นใยรา เมื่อเก็บหัวหอมรานี้จะติดไปด้วย
และจะทำให้ค่อยๆ เกิดอาการเน่าในระหว่างเก็บรักษาอีกด้วย
หัวที่เป็นโรคนี้จึงคัดทิ้งให้หมด เชื้อรานี้มีอยู่ทั่วไปในดิน และทำอันตรายพืช หลายชนิด
บางครั้งเชื้อราจะติดตามมากับฟางข้าวที่ใช้คลุมดิน การระบาดเป็นไปได้ช้าๆ
และเกิดเป็นกลุ่มๆ และควรจะต้องระมัดระวังเม็ดรามิให้ตกหล่นไปที่อื่น
หรือติดเครื่องมือเครื่องใช้ไปยังจุดอื่นๆ ด้วย
การป้องกันกำจัด
ให้ขุดหอมและดินในที่เกิดโรครวบรวมไปเผาทำลายเสีย
เพื่อป้องกันมิให้โรคแพร่ระบาดไปทั่วไร่ในการปลูกหอม หรือพืชอื่นๆ ในปีต่อๆ ไปในที่ที่มีโรคนี้ระบาดอยู่
ควรทำการปรับปรุงดินให้มีสภาพเป็น กลาง
จะช่วยให้โรคนี้ชะงักไปได้ระยะหนึ่งหรือหายไป ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลีบไปไม่ต่ำกว่า
5 ปี
4. โรคใบจุดสีม่วง
โรคนี้เกิดจากเชื้อราเข้าทำลายที่ใบ โดยใบหอมที่ถูกทำลายจะเริ่มมีจุดสีขาว
แล้วขยายวงกว้างออก เป็นแผลใหญ่รูปไข่ สีเนื้อหรือน้ำตาลอ่อน
บริเวณรอบแผลมีสีน้ำตาลแก่และสีม่วงอ่อนไม่แน่นอน ใบที่มีแผลขนาดใหญ่หรือมีหลายแผล
ใบจะหักพับลงทำให้ใบหรือปลายใบแห้ง ต้นหอมจะทรุดโทรมทำให้ไม่ลงหัว หรือหัวไม่โต
เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วโรคนี้จะเข้าทำลายในระยะเก็บรักษา
โดยเชื้อราจะเข้าทางบาดแผลที่บริเวณกอของหอมหัวใหญ่ ทำให้เกิดอาการเน่าเละ
กาบหอมที่สดจะหดตัว สีจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ
โรคนี้พบระบาดมากทุกปีในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพบว่าเป็นโรคนี้อย่างรุนแรง
การป้องกันกำจัด
ควรทำเช่นเดียวกับการป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนส การใช้ยาก็เช่นเดียวกัน
ยกเว้นยาพวก เบนโนมิล เช่น เบนเลท ซึ่งใช้ในการกำจัดโรคนี้ไม่ได้ผล
5. โรคราดำ
โรคนี้เกิดจากเชื้อราในอากาศ มักเกิดกับหัวหอมที่เก็บเกี่ยวแล้ว
เมื่อเก็บรักษาไว้ในที่ๆ มีอากาศชื้น มักจะมีราสีดำเป็นกลุ่มใหญ่
เส้นใยรามีหัวสีดำ ซึ่งจะพุ่งกระจายจากกันได้ง่ายเมื่อมีแรงกระทบกระเทือน
เนื้อเยื่อที่มีราขึ้นจะเน่าเปื่อยลึกเข้าไปที่ละน้อย และขยายกว้างออกไป
โดยไม่มีขอบเขตจำกัด ทำให้กาบใบเน่าไปทีละชิ้น
ส่วนมากเชื้อราจะเจริญเข้าไปทางแผลที่เกิดจากการตัดใบออก โดย
เฉพาะใบที่แห้งไม่สนิท ซึ่งเป็นช่องทางให้เกิดโรคนี้ได้ง่าย
เชื้อราจึงเข้าไปทำให้กาบใบตรงกลางเน่าเป็นสีน้ำตาล
และมีราสีดำขึ้นระหว่างกาบใบด้วย หัวหอมจะมีอาการเน่าและหัวนิ่ม
การป้องกันและกำจัด
1.การเก็บหัวหอม
ควรเก็บเมื่อโคนใบแห้งเสียก่อน ไม่ควรรีบเก็บก่อนอายุหอมแก่
2. เพื่อป้องกันการเกิดโรคนี้
ระหว่างการเก็บรักษา ควรพ่นยาไซเนบหรือมาเนบ ที่หัวหอม โดยเฉพาะที่รอยตัด
แล้วผึ่งให้แห้งจึงเก็บ ถ้าจะเก็บไว้นานๆ ควรเก็บในที่ที่อากาศเย็น
และไม่ควรกองสุมกันจนเกิดการร้อนระอุ ซึ่งจะทำให้เกิดการเน่าได้ดี
การเก็บเกี่ยว
หอมหัวใหญ่จะเก็บเกี่ยวผลได้ตั้งแต่
110-130 วันนับตั้งแต่หว่านกล้า
ซึ่งก็ต้องเป็นไปตามพันธุ์ที่ปลูกด้วย สังเกตดูว่าใบเริ่มเหลืองและแห้ง
เอามือบบต้นเหนือคอ ถ้ารู้สึกนุ่ม ๆ และฟ่ามๆ
หรือต้นหอมแสดงอาการคอพับหรือบริเวณโคนต้นอ่อน ลำต้นก็จะล้มลง แสดงว่าจวนแก่เก็บได้แล้ว
หอมควรจะเก็บเกี่ยวพรอมกัน ตามปกติเมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว
ควรจะผึ่งตากแดดในแปลงให้แห้งดีเสียก่อน จึงจะเอาเข้าเก็บในยุ้ง
ถ้าปลูกจำนวนมากๆ จะใช้ไม้รวกกลมๆ
นาบไปตามแปลงเพื่อให้ต้นหักพับแล้วทิ้งไว้ 7-10
วัน พอให้ต้นแห้งสนิทดีแล้วใช้ของคมๆ เช่นปลายมีด หรือจอบขุดลงไปให้ลึกกว่าระดับของหัวเล็กน้อยแล้วใช้มือดึงต้นขึ้นมา
เมื่อถอนแล้วจึงใช้มีดตัดต้นและรากทิ้ง มัดต้นรวมกันเข้าเป็นมัดๆ
แล้วตั้งทิ้งไว้ในแปลง ประมาณ 2-3 วัน การตัดต้นทิ้งนั้น
ควรตัดให้สูงจากหัวประมาณ 1-3 ซม.
ถ้าตัดสั้นกว่านี้อาจจะทำให้เป็นรอยแผลที่หัว และเป็นทางสำหรับเชื้อโรคที่จะเข้าไปในหัวได้ง่าย
ส่วนการตัดรากนั้นควรตัดให้ชิดกับหัว
ใบหอมใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว
ออกเป็นกระจุก 3-4 ใบ ลักษณะเป็นรูปดาบ มีความกว้างประมาณ 2-4
เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร
เส้นใบจีบตามยาวลักษณะคล้ายพัด
ดอกหอมใหญ่ ออกดอกเป็นช่อ
แทงขึ้นมาจากลำต้นใต้ดิน กลีบดอกมีสีขาว
การผึ่ง
หลังจากที่ได้ตัดต้นและรากทิ้งแล้ว
เอาหัวบรรจุในลังไม้หรือถุงก็ได้ตามขนาดเล็กกลางใหญ่
แล้วนำไปผึ่งเก็บไว้ในที่แห้งและร่มมีลมโกรก วางเป็นชั้นๆ อย่าให้สูงเกินกว่า 1 ฟุตหรืออย่าได้นำไปกองสุมไว้
เพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก และจะทำให้หัวชั้นล่างเน่าได้
การผึ่งนั้นจะกินเวลามากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับความแก่ของหัว
ชนิดของภาชนะที่บรรจุและดินฟ้าอากาศโดยทั่วๆ ไปแล้วจะกินเวลาประมาณ 3-4 อาทิตย์
การเก็บ
ที่เก็บประกอบด้วยไม้ระแนงตีเป็นชั้น
ๆ ประมาณ 2-3 ชั้น
ด้านข้างเปิดโล่งหมดทั้ง 4 ด้าน ถ้าอยู่กลางแจ้ง
ควรทำหลังคาเพื่อบังแดดด้วย นำหัววางเรียงบนชั้นๆ หนึ่งๆ ไม่ควรหนากว่า 1 ฟุต เพื่อให้อากากถ่ายเทได้สะดวก ควรหมั่นดูบ่อยๆ
และค่อยดูแลตัดเอาหัวที่เน่าทิ้งเสีย
ที่มา : http://www.thaikasetsart.com
ลักษณะหอมหัวใหญ่
- ต้นหอมใหญ่ มีความสูงประมาณ
30-40 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดินคล้ายหัวหอม
ลักษณะกลมป้อม มีเปลือกนอกบาง ๆ สีม่วงแดงหุ้มอยู่
แต่เมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
- ใบหอมใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว
ออกเป็นกระจุก 3-4 ใบ ลักษณะเป็นรูปดาบ
มีความกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-40
เซนติเมตร เส้นใบจีบตามยาวลักษณะคล้ายพัด
- ดอกหอมใหญ่ ออกดอกเป็นช่อ
แทงขึ้นมาจากลำต้นใต้ดิน กลีบดอกมีสีขาว
คุณประโยชน์ของหอมหัวใหญ่
การรับประทาน หัวหอมใหญ่ สามารป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้
เพราะว่าหอมหัวใหญ่มีสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยแก้การนอนไม่หลับได้
ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยกำจัดสารตะกั่วและโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับอาหาร
ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของอัมพาต ช่วยรักษาโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด
ช่วยในการขยายหลอดเลือด ช่วยทำให้เลือดไม่ไปอุดตันในหลอดหลอด
ช่วยในการสลายลิ่มเลือดปกป้องหลอดเลือดเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน ลดความอ้วน ช่วยลด คอเลสเตอรอล
ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต
แก้ความดันโลหิตสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยรักษาไข้หวัด แก้หวัดคัดจมูก และช่วยลดน้ำมูก ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ หอมหืด คุณช่วยขับเสมหะได้ ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยแก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิ ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลมพิษ ลดอาการปวดอักเสบ ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยรักษาผิวหนังที่ถูกน้ำร้อนลวกได้
คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวใหญ่ ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 40 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 9.34 กรัม
- น้ำตาล 4.24 กรัม
- เส้นใย 1.7 กรัม
- ไขมัน 0.1 กรัม
- โปรตีน 1.1 กรัม
- น้ำ 89.11 กรัม
- วิตามินบี 1 0.046 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม 2%
- วิตามินบี 3 0.116 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินบี 5 0.123 มิลลิกรัม 2%
- วิตามินบี 6 0.12 มิลลิกรัม 9%
- วิตามินบี 9 19 ไมโครกรัม 5%
- วิตามินซี 7.4 มิลลิกรัม 9%
- ธาตุแคลเซียม 23 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุเหล็ก 0.21 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุแมงกานีส 0.129 มิลลิกรัม 6%
- ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม 4%
- ธาตุโพแทสเซียม 146 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุสังกะสี 0.17 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุฟลูออไรด์ 1.1 ไมโครกรัม
คำแนะนำและข้อควรรู้เกี่ยวกับหอมหัวใหญ่
- หอมหัวใหญ่มีฤทธิ์อุ่น ให้รสเผ็ดร้อน ไม่มีพิษ เข้าเส้นลมปราณ ปอด และกระเพาะอาหาร โดยหอมใหญ่ดิบจะมีฤทธิ์สุขุม ส่วนหอมใหญ่สุกจะมีฤทธิ์อุ่น
- แม้หัวหอมใหญ่จะเป็นผักที่มีกลิ่นฉุนมาก จนทำให้คนส่วนใหญ่ไม่อยากรับประทาน หรือหันไปรับประทานแบบชุบแป้งทอด การเจียว หรือการใช้ในการปรุงแต่งอาหารอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามถ้าอยากจะรับประทานแบบให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพจริง ๆ แนะนำว่าให้รับประทานแบบสด ๆ จะดีที่สุด ตอนเด็ก ๆ ผู้เขียนก็ไม่ชอบเช่นกันครับ แต่ปัจจุบันถ้ามีโอกาสก็กินหมดเลยครับ
- การรับประทานหัวหอมใหญ่แบบสด (หรือรับประทานร่วมกับอาหารอื่น ๆ) เพียงวันละครึ่งหัวถึงหนึ่งหัวเป็นเวลา 2 เดือน ก็จะเห็นผลต่อสุขภาพโดยภาพรวมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง
- วิธีการเลือกซื้อหัวหอมใหญ่ ให้มีคุณภาพดีต้องสังเกตดังนี้ มีผิวแห้งและเรียบ หัวมีน้ำหนักมาก เนื้อแน่น ไม่มีส่วนที่นิ่มหรือมีรอยช้ำ ซึ่งจะช่วยทำให้เก็บหอมใหญ่ไว้ได้นานขึ้นนั่นเอง
- วิธีซอยหอมไม่ให้แสบตา มีหลายวิธี เช่น เมื่อปอกเปลือกเสร็จแล้วให้ใช้มีดจิ้มให้รอบหัว แล้วนำลงแช่ในน้ำเปล่าไว้สักครู่ หลังจากนั้นค่อยนำไปหั่น หรืออีกวิธีก็ให้นำหัวหอมใหญ่ไปแช่เย็นประมาณ 15 นาที ก่อนที่จะนำมาหั่น ทั้งสองวิธีดังกล่าวนี้สามารถช่วยลดอณูซึ่งประกอบไปด้วยซัลเฟอร์หรือกำมะถันไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจาย ทำให้ปฏิกิริยาต่าง ๆ ช้าลงได้ จึงช่วยป้องกันและลดการระคายเคืองและอาการแสบร้อนในตาได้
- วิธีการเก็บรักษาหอมหัวใหญ่ วิธีการยืดอายุและการเก็บหอมหัวใหญ่ ก็มีหลายวิธี เช่น การนำหอมใหญ่มาใส่ในถุงกระดาษสีน้ำตาลแล้วพับปิดปากถุง หรืออีกวิธีให้ใช้กระดาษนำมาห่อหัวหอมใหญ่เป็นลูก ๆ และใส่ถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง หรืออีกวิธีก็คือให้ใช้กระดาษฟอยล์ในการห่อหัวหอมใหญ่ ก่อนการนำมาแช่ในตู้เย็น ก็จะช่วยทำให้คงความสดความกรอบ และทำให้ผิวหัวหอมไม่ช้ำอีกด้วย
ข้อควรระวังในการรับประทานหอมหัวใหญ่
สมุนไพรหอมใหญ่ แม้ว่าสรรพคุณหัวหอมใหญ่จะมีอยู่มากมาย
แต่เนื่องจากหอมใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์อุ่นและมีรสเผ็ด การนำมาใช้ในแต่ละบุคคล
ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายและโรคของผู้ป่วยด้วย
ซึ่งฤทธิ์ดังกล่าวสามารถช่วยขับความเย็น ทำให้หยางทะลุทะลวงไปยังส่วนต่าง ๆ ช่วยกำจัดพิษและปัจจัยที่กระทบจากภายนอกเนื่องจากความเย็นได้ดี
แต่ไม่มีฤทธิ์ในการบำรุงหยางในร่างกาย เมื่อใช้ไปนาน ๆ
อาจจะทำให้ร่างกายเสียพลังได้ง่าย เช่น
ในกรณีผู้ป่วยหอบหืดที่มีพลังอ่อนแออยู่แล้ว แทนที่จะมีอาการหอบดีขึ้น
แต่กลับจะทำให้อาการหอบหืดกำเริบมากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น
ดังนั้นจึงควรรู้ถึงข้อดีและข้อเสียเพื่อนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมด้วยจึงจะเกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างสูงสุดการรับประทานหัวหอมใหญ่ในปริมาณมากหรือรับประทานติดต่อกันนานเกินไป
อาจจะทำลายจิตประสาท ทำให้จิตฟุ้งซ่าน ลืมง่าย ความจำเสื่อม มีอาการตามัว
พลังและเลือดถูกทำลาย ทำให้เส้นเลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ทำให้โรคต่าง ๆ
ที่เป็นอยู่หายช้าและเรื้อรัง และยังไปทำลายสมรรถภาพทางเพศเมื่อคุณมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากความเครียดหรือจากการพักผ่อนไม่เพียงพอมีคำแนะนำว่าไม่ควรจะรับประทานหัวหอมใหญ่ (ข้อมูลจาก : คุณหมอบุชฮอล์มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์)อย่างไรก็ตามไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่สดในขณะที่ท้องว่าง
เพราะอาจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ทำให้เยื่อบุในกระเพาะเกิดการอักเสบได้สำหรับผู้ที่ถูกสัตว์มีพิษมีเขี้ยวกัด ไม่ควรรับประทานหอมใหญ่
เพราะการรับประทานหัวหอมใหญ่จะทำให้มีอาการรุนแรงขึ้นทำให้พิษแพร่กระจายอย่างรวดเร็วสิ่งที่คุณควรรู้อีกเรื่องนั้นก็คือหอมใหญ่เป็นหนึ่งในอาหารที่มีกลิ่นแรงและทำให้เกิดกลิ่นปาก(กินแล้วอย่าลืมบ้วนปากแปรงฟันด้วยนะครับ)สำหรับผู้ที่มีกลิ่นตัวแรงอยู่แล้วการรับประทานหัวหอมใหญ่มากเกินไปอาจจะทำให้มีกลิ่นตัวแรงยิ่งขึ้นว่ากันว่าในช่วงเดือนสี่ (ฤดูใบไม้ผลิ) ไม่ควรรับประทานหอมหัวใหญ่
เพราะจะทำให้อาการหอบหืดรุนแรงมากขึ้น
ที่มา : https://medthai.com
อ้างอิง
- ผู้จัดการออนไลน์. “หอมใหญ่ ยาครอบจักรวาลประจำบ้าน“. อ้างอิงใน: หนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 117. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th. [9 ต.ค. 2013].
- มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน คอลัมน์: แพทย์แผนจีน เล่มที่ 321. “หอมหัวใหญ่“. (นพ.วิทวัส (ภาสกิจ) วัณนาวิบูล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th [9 ต.ค. 2013].
ภาพประกอบ : www.flickr.com (by manu_penas, AlexGaldeev, Nikon Nutter 2009, MShades, Kenny Hindgren), www.uma-culinaryworld.com, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี