หอมหัวใหญ่
หอมหัวใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium cepa L. จัดอยู่ในวงศ์พลับพลึง
(AMARYLLIDACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย ALLIOIDEAE (ALLIACEAE)
ที่มา : https://medthai.com
พันธุ์ของหอมหัวใหญ่
หอมหัวใหญ่แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
1.พันธุ์กลางวันยาว จะลงหัวเมื่อได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์วันหนึ่งๆ ประมาณ 12-16
ชั่วโมง เป็นพันธุ์เบา มักจะมีอายุสั้น คือ
ตั้งแต่เพาะเมล็ดจนถึงเก็บหัวได้ มีอายุ 85-125 วัน
และจะเก็บหัวได้ในต้นฤดูฝน หัวหอมที่ใกล้แก่ เมื่อถูกฝนแล้วมักจะเน่า
เก็บไว้ไม่ได้นาน อนึ่งในเดือนมีนาคม เมษายน อากาศร้อนขาดแคลนน้ำที่จะใช้รด
ไม่เหมาะที่จะปลูกในประเทศไทย จะต้องปลูกปลายฤดูหนาว
2. พันธุ์กลางวันสั้น เหมาะสำหรับปลูกในประเทศไทย ต้องการแสงสว่างเพียงวันละ 9-10 ชั่วโมง ก็ลงหัวได้ เป็นพันธุ์หนัก มีอายุ 165 -180 วัน
2. พันธุ์กลางวันสั้น เหมาะสำหรับปลูกในประเทศไทย ต้องการแสงสว่างเพียงวันละ 9-10 ชั่วโมง ก็ลงหัวได้ เป็นพันธุ์หนัก มีอายุ 165 -180 วัน
พันธุ์ ที่นิยมปลูกในบ้านเรา
-พันธุ์
กราเน๊กซ์ มีทั้งพันธุ์ เยลโลกราเน๊กซ์ มีทั้งหัวกลมและหัวแบน เป็นหัวเร็ว
และแก่สม่ำเสมอกัน หัวใหญ่แต่คอเล็ก สามารถเก็บไว้ได้นาน
-พันธุ์เอ็กเซลเป็นพันธุ์ที่ได้มาจากเยลโลเบอร์มูดา
เป็นหัวเร็ว ขนาดปานกลางแต่ไม่ค่อยสม่ำเสมอกันนัก ขนาดของหัวปานกลาง
เก็บไว้ได้นานกว่าพันธุ์แรก
-พันธุ์
เรดโกล้บ พันธุ์นี้ได้หัวไม่เร็วนักและแก่ไม่สม่ำเสมอ แต่เก็บไว้ได้นานกว่า 2
พันธุ์แรก ขนาดของหัวเล็ก
นอกจากนี้ยังมีพันธุ์อื่นๆ อีก เช่น เรคตรีโอล เรดแคบารี่ เออริลี่เทกซัสคราโน และแยลโลเบอร์มูดา เหล่านี้ให้ผลดีพอใช้ ขนาดของหัวปานกลาง และให้ผลช้ากว่า 3 พันธุ์แรก
นอกจากนี้ยังมีพันธุ์อื่นๆ อีก เช่น เรคตรีโอล เรดแคบารี่ เออริลี่เทกซัสคราโน และแยลโลเบอร์มูดา เหล่านี้ให้ผลดีพอใช้ ขนาดของหัวปานกลาง และให้ผลช้ากว่า 3 พันธุ์แรก
สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม
หอมหัวใหญ่ชอบดินร่วนซุย
มีความอุดมสมบูรณ์และสามารถอุ้มน้ำได้ดี หอมจะให้หัวเร็ว ส่วนในดินทราย
ปนตะกอนและดินเหนียว ที่มีอินทรีย์วัตถุปนอยู่ด้วย ก็สามารถปลูกได้ดีเหมือนกัน
ถ้าเป็นดินที่เหนียวมาก เมื่อเปียกน้ำดินจะจับตัวกันเป็นก้อน ถ้าขาดน้ำดินจะแตกระแหง
ทำให้ต้นเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร ควรแก้ไขดินเหนียว โดยการใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ หรือ
ปุ๋ยอินทรีย์วัตถุอื่นๆ จะได้ผลดียิ่งขึ้นหอมหัวใหญ่ชอบอากาศกลางวันอบอุ่น-ร้อนกลางคืนเย็น
อุณหภูมิสูงตอนปลายฤดูปลูกจะทำให้แก่เร็ว ฤดูปลูกที่เหมาะสมจึงควรลงมือเพาะเมล็ดในต้นเดือนตุลาคมเมื่อหมดแล้วแต่อย่างช้าไม่เกินเดือนพฤศจิกายน
การเตรียมพันธุ์ปลูก หอมหัวใหญ่ในบ้านเรานิยมปลูก 2 วิธี คือ
1. การใช้เมล็ดปลูก ภายหลังการเตรียมต้นเสร็จแล้ว โรยเมล็ดลงในแปลง เป็นแถวยาว
ระหว่างแถวห่างกันประมาณ 20-25 เซนติเมตร
ทางที่ดีควรหยอดเมล็ดลงเป็นหลุมๆ หลุมหนึ่งห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตรและลึกประมาณ
2.5 เซนติเมตร แต่ถ้าเป็นดินทรายควรลึก 5 เซนติเมตร หยอดเมล็ดหลุมละ 1-3 เมล็ด
ตามปกติแล้วปริมาณของเมล็ดที่ใช้ต่อไร่ประมาณ 4 กิโลกรัม
แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพและเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก
และความประสงค์ที่จะใช้เป็นหอมสด ใช้ต้นเป็นอาหาร ปริมาณของเมล็ดก็ต้องมากกว่านี้
เพราะต้องใช้ระยะปลูกมากขึ้น
2. ปลูกโดยใช้กล้า เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูงมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะประหยัดเมล็ด
เมื่อกล้ามีขนาดโตพอที่จะย้ายลงแปลงปลูกได้ คือมีอายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ ถอนมารวมกันเป็นมัดๆ ก่อนที่จะถอนกล้าขึ้น
ควรใช้น้ำรดแปลงเพาะให้ชุ่มแล้วจึงถอนกล้าขึ้น ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการถอนกล้า
และจะทำให้รากน้อยลง เมื่อถอนแล้ว ก่อนนำไปปลูกควรเก็บไว้ในที่เย็นและชื้น
หรือเก็บไว้ในร่ม ระยะปลูกระหว่างต้น 8-10 เซนติเมตร
ไม่ควรปลูกเป็นกอจะทำให้หัวเล็ก และไม่ควรตัดใบและรากจะทำให้หัวน้อยลง
ผลดีของการใช้กล้าปลูก คือ ทำให้ปริมาณของเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้น้อยลง คือประมาณ 2.5-3 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น ให้หัวใหญ่และมากกว่าวิธีแรก และขนาดของหัวสม่ำเสมอกัน การป้องกันกำจัดศัตรูพืชทำได้ง่าย แต่ข้อเสียคือต้องใช้แรงงานมาก ใช้ระยะเวลานานและต้องการเนื้อที่สำหรับทำแปลงด้วย
ผลดีของการใช้กล้าปลูก คือ ทำให้ปริมาณของเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้น้อยลง คือประมาณ 2.5-3 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น ให้หัวใหญ่และมากกว่าวิธีแรก และขนาดของหัวสม่ำเสมอกัน การป้องกันกำจัดศัตรูพืชทำได้ง่าย แต่ข้อเสียคือต้องใช้แรงงานมาก ใช้ระยะเวลานานและต้องการเนื้อที่สำหรับทำแปลงด้วย
การเตรียมแปลงเพาะกล้า
การเตรียมดินเพาะกล้า
ควรจะเริ่มลงมือกระทำในเดือนพฤศจิกายน ขุดหรือไถให้ลึกประมาณ 12-15 เซนติเมตร
ตากดินไว้ให้แห้งไม่น้อยว่า 1 เดือน แล้วไถแปลอีกครั้งหนึ่ง
แล้วทำการยกร่องให้สูงประมาณ 25 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร ยาวตามความต้องการ ย่อยดินในแปลงเล็กให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอกเก่าๆ
ลงในแปลงบ้าง หรืออาจจะใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 6-10-8 หรือ 6-12-16
ขนาดที่ใช้สำหรับแปลงขนาด 10 ตารางกิโลเมตร
ใช้ประมาณ 3-4 กิโลกรัม
ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยให้ต้นกล้าเจริญงอกงามด้วย เมื่อเอาปุ๋ยโรยทั่วแล้ว
ใช้คลาดเกลี่ยกลบปุ๋ยให้ลึกประมาณ 2-5 เซนติเมตร
เกลี่ยหน้าดินให้เรียบเสมอกัน ยกขอบแปลงเล็กน้อยเพื่อกันน้ำไหลชะเมล็ดออกจากแปลง
แล้วจึงเอาเมล็ดมาหว่านลงไป เมล็ดพันธุ์ ที่จะนำมาเพาะ
ควรคลุกเคล้าด้วยยาฆ่าเชื้อโรคเสียก่อน เช่น อะราแซน หรือซีรีแซนก็ได้
ทั้งนี้เพื่อป้องกันโรคโคนเน่า ซึ่งอาจจะติดมากับเมล็ดก็ได้
โรยตามขวางให้เป็นแถวของแปลงเพาะห่างกัน 10 เซนติเมตร
อย่าหว่านให้ถี่เกินไป จะทำให้ต้นกล้าไม่เจริญงอกงาม และ อาจทำให้เกิดโรคโคนเน่าได้เช่นกัน
เมื่อหว่านเมล็ดเสร็จแล้ว ควรใช้ดินร่วนๆ หรือแกลบเก่าๆ โรยกลบเมล็ด ให้หนา 1
เซนติเมตร อย่าให้หนาหรือบางกว่านี้
เพราะถ้าบางไปเมล็ดอาจถูกน้ำพัดไปหมด หรือถูกมดและแมลงทำลายได้โดยง่าย
แต่ถ้าหนาเกินไปจะทำให้เมล็ดงอกได้ช้า การใช้ดินร่วน หรือแกลบโรยนั้น
ก็เพื่อให้กล้าหอมโผล่พ้นดินง่ายขึ้น เมื่อเอาดินหรือแกลบกลบเรียบร้อยแล้ว
จึงเอาบัวรดน้ำให้ต้นเปียกชุ่ม น้ำต้องรดเสมอๆ เมื่อเห็นว่าดินในแปลงเพาะนั้นแห้ง
หรือประมาณ 3-4 วันต่อครั้ง
ตามปกติเมล็ดที่ยังใหม่อยู่จะงอกภายใน 3-5 วัน
ถ้าเป็นเมล็ดเก่าค้างปีจะงอกภายใน 5-7วัน ต้นหอมที่งอกใหม่ๆ
จะมีขนาดโต กว่าเส้นผมเล็กน้อย
แล้วจะค่อยๆ โตและงอกสูงขึ้นตามลำดับ ในระหว่างนี้ควรดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด
ถ้าเห็นว่าต้นกล้าใดที่อ่อนแอ ก็ควรถอนทิ้ง
เพื่อว่ากล้าที่เหลืออยู่จะได้เจริญดีขึ้น
การปฏิบัติรักษาแปลงเพาะ
เมื่อเมล็ดงอกแล้ว
อย่ารดน้ำให้ดินเปียกโชกนักจะทำให้เกิดโรคโคนเน่าได้
ถ้าเพาะในระยะเดือนที่ยังมีฝนตกอยู่ก็ควรมีผ้าคลุมแปลง และต้องเปิดให้ถูกแสงแดดมากๆ
เพื่อต้นกล้าจะได้แข็งแรง จะใช้ผ้าคลุมเมื่อเวลาฝนตกเท่านั้น
ต้นกล้างอกสูงพ้นจากดินประมาณ 10
เซนติเมตร ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าคลุมอีก
ส่วนการเพาะเมล็ดในหน้าหนาวไม่จำเป็นต้องคลุม เมื่อต้นกล้างอกสูงประมาณ 10 เซนติเมตร หรือประมาณ 25
วัน ควรใช้ปุ๋ยหยอดหน้า เช่น โพแทสเซียมไนเตรท หรือ ยูเรีย หรือ ซัลเฟตออฟแอมโมเนีย
ผสมน้ำรดทุกๆ สัปดาห์ อัตราปุ๋ยที่ใช้ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ
1 ปี๊บ ควรใช้ฝักบัวที่มีรูเล็กๆ เมื่อรดแล้วใช้น้ำเปล่าๆ
รดล้างปุ๋ยที่ติดอยู่กับใบและต้นอ่อน
แต่อย่างไรก็ตามการใช้ปุ๋ยควรพิจารณาถึงความเจริญเติบโตของต้นกล้าด้วย
ถ้าเห็นว่าเจริญเติบโตดีอยู่แล้ว อาจไม่ต้องใช้ ปุ๋ยเลยก็ได้ และระหว่างนี้เมื่อพบวัชพืชขึ้นรบกวนก็ควรถอนออกทำลายเสีย ต้นกล้าที่ได้รับการปฏิบัติดูแลรักษาอย่างดี
พออายุได้ประมาณ 40-45 วัน
จะสูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีใบ 4-5 ใบ
การเตรียมแปลงปลูก
การเตรียมแปลงปลูกที่ได้ผลดีก็คือ การยกร่องปลูก
โดยภายหลังจากที่ไถและคราดจนดินละเอียดดีแล้ว ปล่อยทิ้งไว้นานๆ แล้วจึงยกแปลง
ถ้าเป็นที่ดอนไม่ต้องยกให้สูงมากนัก คือปริมาณ 15-20 เซนติเมตรก็พอ การยกร่องจำเป็นอย่างยิ่ง
และควรสูง กว่านี้ ความกว้างของแปลงประมาณ 1 เมตร ส่วนความยาวไม่จำกัด
แต่ขอให้มีความสะดวกในการเดินเข้าออก ไม่ต้องเดินอ้อมไปตักน้ำไกลๆ
หรือเหยียบย่ำข้ามแปลงอื่นๆ เสร็จแล้วใช้ปุ๋ยมูลสัตว์เก่าๆ
คลุกเคล้าให้เข้ากับดินอีกทีหนึ่ง เมื่อเตรียมแปลงปลูกเสร็จแล้ว
ให้ทำแถวลงในแปลงหนึ่งๆ ห่างกันประมาณ 20-25 เซนติเมตร
ใช้ไม้กลมๆ ขนาดเท่าด้ามปากกาหมึกซึมปักลงไปตามแถวให้ลึกเพียง 2 เซนติเมตร ห่างกัน 10-12 เซนติเมตร
เมื่อหย่อนกล้าลงในหลุมแล้ว ใช้ปลายนิ้วกลางเขี่ยกลบดิน ไม่ต้องกดดินให้แน่น
เวลารดน้ำดินจะแน่นติดจับรากเอง เมื่อปลูกเสร็จแล้ว หอมหรือกระเทียมก็ได้
แต่ต้องคลุมให้ นานๆ เพื่อต้นหอมจะได้แทงใบขึ้นง่าย การใช้ฟางคลุมแปลงนั้นเพื่อป้องกันมิให้หญ้าขึ้น
และช่วยสงวนความชุ่มชื้นในดิน
การปฏิบัติดูแลรักษา
1. การให้น้ำ
เมื่อปลูกเสร็จแล้วต้องรดน้ำให้ชุ่มและจะรดอีกเมื่อไรนั้นให้สังเกตดินในแปลง
ถ้าดินแห้งก็เริ่มรดน้ำ แต่ถ้าในแปลงใช้ฟางคลุมแล้วราวๆ 7-10 วัน
จะรดน้ำสักครั้งหนึ่ง หรือถ้าปล่อยน้ำแบบปล่อยน้ำเข้าแปลงก็ได้
ก็ให้ปล่อยน้ำประมาณ 2 อาทิตย์ต่อครั้ง
หอมที่ปลูกลงหัวมีขนาดปานกลาง จึงหยุดรดน้ำ เพื่อช่วยให้หัวแก่เร็ว
2. การใส่ปุ๋ย หอมมีรากตื้น
ขนาดของลำต้นจึงขึ้นอยู่กับการใส่ปุ๋ยด้วย ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน
ความเป็นกรดและการระบายนํ้า เวลาที่เหมาะสมสำหรับการที่ใส่ก็คือปุ๋ย
ใส่ก่อนที่จะปลูกประมาณ 2-3 วัน
หอมที่ปลูกโดยใช้กล้า ควรให้ปุ๋ยลึกลงไปประมาณ 3-4 นิ้ว
จากระดับผิวหน้าดิน ปุ๋ยที่ใช้อาจเป็นปุ๋ยจากมูลสัตว์
หรือถ้าจะใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็ควรใช้สูตร 6-10-8 หรือ 6-12-16
อัตราที่ใช้ประมาณ 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ภายหลังจากลงแปลงปลูกไปแล้ว
ประมาณ 20-25 วัน
ซึ่งจะเป็นระยะพอดีกับการพรวนดินถอนหญ้าครั้งแรกเสร็จ
ควรใช้ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโต สูตร 26-14-0 ประมาณ 20-25
กก. ต่อไร่ สำหรับดินร่วนทราย และประมาณ 40 กก.
ต่อไร่ สำหรับดินค่อนข้างเหนียวภายหลังจากใส่ครั้งแรกแล้วประมาณ 25 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ในอัตรา 20-25 กก. ต่อไร่ การให้ปุ๋ยนี้จะมากหรือน้อยครั้ง
เกษตรกรควรจะสังเกตดูสภาพของต้นหอมหัวใหญ่ประกอบไปด้วย
หากเห็นว่าไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควรก็ควรจะให้ปุ๋ยทันที
3. การพรวนดินดายหญ้า
หอมเป็นพืชที่มีรากมาก การพรวนดินต้องทำน้อยครั้ง เมื่อต้นยังเล็กอยู่ควรพรวนให้ 2-3 ครั้ง เพื่อปราบวัชพืช เมื่อต้นสูงสัก
10 นิ้วขึ้นไปจึงหยุดพรวน เพราะรากแผ่เต็มไปทั้งแปลง
ต้นก็ใหญ่ ใบก็ยาว พรวนลำบาก เพียงแต่คอยถอนหญ้ามิให้แย่งอาหารและรบกวนต้นหอมก็พอแล้ว
การใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมแปลงจะเป็นการป้องกันวัชพืชได้มาก
4. การพ่นยากำจัดแมลง
การพ่นยาในฤดูหนาวอาจถี่กว่า 10-15 วันครั้ง เพราะอาจอยู่ในช่วงที่เกิดโรกระบาดได้ง่าย ขณะเดียวกันในด้านแมลง
หากปลูกบริเวณกาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ อาจมีหนอนกระทู้หอมระบาด จึงไม่ควรประมาท
ดังนั้นการกำหนดว่าฤดูหนาวพ่นห่างฤดูฝนพ่นถี่
จะไม่เหมาะสมในกรณที่เกิโรค-แมลงระบาดมากในฤดูหนาว
ศัตรูของหอมหัวใหญ่
แมลง
แมลงศัตรูหอมหัวใหญ่มีหลายชนิด เช่น มดง่าม แมงกะชอน หนอนกระทู้ เพลี้ยไฟ
1. มดง่าม ยาที่ใช้ควรใช้ยาเคมี ออลดริน ชนิดผง ละลายน้ำ โดยผสมน้ำ 1 ช้อนแกงต่อ 1 ปี๊บฉีดให้ทั่ว
2. แมงกะชอน ยาที่ใช้เช่นเดียวกับมดง่าม
1. มดง่าม ยาที่ใช้ควรใช้ยาเคมี ออลดริน ชนิดผง ละลายน้ำ โดยผสมน้ำ 1 ช้อนแกงต่อ 1 ปี๊บฉีดให้ทั่ว
2. แมงกะชอน ยาที่ใช้เช่นเดียวกับมดง่าม
3. หนอนกระทู้
หนอนกระทู้หลายชนิดทำลายหอม โดยกัดกินใบทั้งกลางวันและกลางคืน
และมักหลบอาศัยกิดกินในใบ (หลอด) หอม ทำให้การป้องกันกำจัดโดยการใช้ยาลำบาก
และไม่ใคร่ได้ผล หนอนกระทู้ที่พบเสมอๆ ได้แก่ หนอนกระทู้ผัก และหนอนกระทู้หอม
โดยเฉพาะหนอนกระทู้หอม พบทำลายหอมอย่างรุนแรง ในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์
ตั้งแต่หลังฤดูฝนเป็นต้นไป ซึ่งเข้าใจว่าระบาดไปจากจังหวัดราชบุรี
หากปล่อยให้หนอนกระทู้หอมระบาดมากแล้วจะกำจัดยาก จึงควรหมั่นตรวจดูแปลง
เมื่อพบไข่เป็นกลุ่มมีใยสีขาวนวลหุ้ม (ไข่หนอนกระทู้หอม)
หรือกลุ่มใหญ่กว่ามีใยสีน้ำตาลอ่อนหุ้ม (ไข่หนอนกระทู้ผัก) ให้รีบทำการพ่นยาทุก 3-5 วัน จนกว่าจะหมดไป
ยาฆ่าแมลง ที่ควรใช้สำหรับหนอนกระทู้ผักไม่ใคร่มีปัญหานัก ยาธรรมดา เช่น เซวิน 85%
อัตรา 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บก็ใช้ได้ แต่สำหรับหนอนกระทู้หอม เป็นปัญหามากในการเลือกใช้ยา
จำเป็นต้องใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า เช่น ทามารอน และไนรูซิน อัตราผสมอย่างละ 2
ช้อนโต๊ะ แล้วผสมน้ำ 1 ปี๊บ เวลาพ่นควรเติมยาจับใบเพื่อให้ผลในการกำจัดดียิ่งขึ้น 4. เพลี้ยไฟ จัดเป็นเพลี้ยชนิดหนึ่งสีน้ำตาล
ขนาดเล็กมากแต่ยังมองด้วยตาเปล่าได้ มีลักษณะลำตัวเล็กบาง ขนาดความยาวประมาณ 1/5
ซม. หรือ 2 ซม.
ดูดน้ำเลี้ยงตามโคนใบระหว่างก้าน ทำให้ใบเป็นจุดด่าง แล้วจะค่อยๆ แห้งไปในที่สุด หอมจะชะงักการเจริญเติบโต
อาจทำให้ลำต้นเน่าถ้าชุ่มน้ำ แมลงชนิดนี้มักระบาดในฤดูอากาศร้อน แห้งแล้ง
ถ้าพืชอ่อนแอขาดน้ำ จะเป็นอันตรายมาก
ควรหมั่นตรวจดูอาการและสังเกตตัวเพลี้ยตามซอกกาบใบ แล้วรีบพ่นยากำจัด เช่นยาพวก มาลาไธออน
หรือ เซวิน 85% ขณะเดียวกันควรบำรุงพืชให้เจริญ
การเพิ่มปุ๋ยทางใบจะช่วยให้ หอมฟื้นตัวเร็วขึ้น
โรคที่สำคัญของหอมหัวใหญ่
1. โรคใบเน่า
หรือ โรค แอนแทรคโนส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราจะทำให้ใบเป็นจุดสีเขียวหม่น
ซึ่งจะขยายกว้างออกไปอย่างรวดเร็วจนเป็นแผลใหญ่ รูปไข่
เนื้อใบที่เป็นแผลเป็นแอ่งต่ำกว่าระดับเดิมเล็กน้อย
บนแผลมักมีสปอร์ของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ติดอยู่ มีลักษณะเป็นหยดของ
เหลวข้น สีส้มอ่อนอมชมพู เมื่อเวลาแห้งแล้วจะเป็นสะเก็ดแข็งอยู่บนแผล
และมีสีคล้ำลง ทำให้มองเห็นเป็นตุ่มสีน้ำตาล หรือดำเรียงเป็นวงกลมซ้อนๆ
กันหลายชั้น กว้างออกไปตามขนาดของแผล
ส่วนมากใบที่กำลังเน่าจะหักพับไปตรงรอยที่มีแผลใหญ่เกือบรอบใบ
และใบที่มีแผลหลายแผล หรือมีแผลใหญ่มาก ปลายใบ หรือใบจะแห้ง หรือเน่ายุบหายไปหมด
บางต้นไม่มีใบดีเหลืออยู่เลย หัวจะเน่ายุบไปหมดด้วย
เชื้อโรคถูกชะล้างลงไปทำลายจนถึงส่วนที่อยู่ติดดิน
ทำให้ต้นเน่าตายหรือมีแผลที่หัวด้วย เก็บเกี่ยวไม่ได้
หรือถ้าเก็บหัวได้โรคก็จะติดไปแพร่ระบาดในระหว่างเก็บรักษา และจำหน่าย ทำให้หัวเน่าได้อีกโรคนี้เกิดในระยะที่มีความชื้นสูง
เช่น ในระยะที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน หรือระยะที่มีหมอกลงจัดติดต่อกันหลายวัน
การแพร่ระบาดของโรคเกิดกว้างขวางรวดเร็วมาก
เป็นโรคที่ร้ายแรงของหอมหัวใหญ่ที่กาญจนบุรี
ที่เชียงใหม่ก็เคยระบาดเสียหายมากในบางปี
การป้องกันกำจัด การปลูกหอมในแหล่งที่มีโรคนี้ระบาดมาก จำเป็นต้องฉีดพ่นยาอย่างหนักและบ่อยครั้งในระยะที่มีสภาพสิ่งแวดล้อมเหมาะต่อการเกิดโรค เพราะส่วนมากยาจะถูกชะล้างออกไปจากใบพืชมาก โอกาสที่เนื้อเยื่อพืชจะติดโรคจะมีได้มาก การฉีดพ่นยาจึงเพียงชะงักโรคได้บ้าง ทำให้เสียหายน้อยลง
การป้องกันกำจัด การปลูกหอมในแหล่งที่มีโรคนี้ระบาดมาก จำเป็นต้องฉีดพ่นยาอย่างหนักและบ่อยครั้งในระยะที่มีสภาพสิ่งแวดล้อมเหมาะต่อการเกิดโรค เพราะส่วนมากยาจะถูกชะล้างออกไปจากใบพืชมาก โอกาสที่เนื้อเยื่อพืชจะติดโรคจะมีได้มาก การฉีดพ่นยาจึงเพียงชะงักโรคได้บ้าง ทำให้เสียหายน้อยลง
2. โรครากเน่า
โรคนี้เกิดจากเชื้อราที่อยู่ในต้น อาการเริ่มเป็นเมื่อหอมมีใบแก่เริ่มแห้ง
โดยแห้งจากใบรอบนอกก่อน เมื่อถอนต้นดูจะเห็นว่าต้นหอมหลุดจากต้นได้ง่าย
เพราะรากและโคนต้นเน่าเปื่อยเป็นสีน้ำตาลการเน่าจะลามเข้าไปในกาบของหัวหอม
ทำให้มีรอยช้ำ กำใช้มือกดหรือบีบหัวหอม จะพบว่าภายในหัวหอมนิ่มหรือเน่า
แล้วในเวลาที่มีอากาศชื้นจะสังเกตเห็นมีราสีขาว เป็นเส้นใยฟูละเอียดบนผิวดิน
และบนส่วนที่เป็นโรคด้วย
การป้องกันกำจัด เมื่อหอมเป็นโรคนี้จะแก้ไขได้ยากมาก ควรที่จะรีบเก็บเอาต้นที่เป็นโรคออกไปเผาทำลายเสีย ในการปลูกพืชคราวต่อไป จะต้องมีการปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยพยายามปรับดินให้มีความเป็นกรดอ่อนๆ เกือบเป็นกลาง และเพิ่มอินทรียวัตถุ ที่เป็นกากพืชสดและปุ๋ยคอก จะช่วยให้โรคนี้ลดความรุนแรงลงได้ระยะหนึ่ง ถ้าจะให้การป้องกันโรคนี้ได้ผลดีขึ้นแล้ว ควรจะทำการปลูกพืชอื่นสลับไม่ต่ำกว่า 5 ปี ไม่ควรใช้ยาเคมีชนิดใดๆ รดหรือฉีดพ่นลงไปในดิน เพราะนอกจากไม่ได้ผลแล้วยังทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นอีกด้วย
3. โรคหัวและรากเน่า เกิดจากเชื้อราในดินที่เรียกว่า ราเม็ดผักกาด เมื่อเกิดโรคนี้ต้นหอมเริ่มมีใบแก่เหี่ยวแห้งไป กาบหัวหอมช้ำน้ำ และมีเส้นใยราสีขาวเป็นเส้นหยาบ มองเห็นชัดด้วยตาเปล่าขึ้นอยู่บนแผล และตามรากซึ่งเน่าเป็นสีน้ำตาล ในดินก็จะพบเส้นใยของราเจริญอยู่ตามโคนต้น นานไปจะพบเม็ดราเริ่มเป็นสีขาวขนาดเล็กและโตขึ้นจนเม็ดมีขนาด ประมาณเม็ดผักกาด สีจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลขึ้นปะปนอยู่กับเส้นใยรา เมื่อเก็บหัวหอมรานี้จะติดไปด้วย และจะทำให้ค่อยๆ เกิดอาการเน่าในระหว่างเก็บรักษาอีกด้วย หัวที่เป็นโรคนี้จึงคัดทิ้งให้หมด เชื้อรานี้มีอยู่ทั่วไปในดิน และทำอันตรายพืช หลายชนิด บางครั้งเชื้อราจะติดตามมากับฟางข้าวที่ใช้คลุมดิน การระบาดเป็นไปได้ช้าๆ และเกิดเป็นกลุ่มๆ และควรจะต้องระมัดระวังเม็ดรามิให้ตกหล่นไปที่อื่น หรือติดเครื่องมือเครื่องใช้ไปยังจุดอื่นๆ ด้วย
การป้องกันกำจัด เมื่อหอมเป็นโรคนี้จะแก้ไขได้ยากมาก ควรที่จะรีบเก็บเอาต้นที่เป็นโรคออกไปเผาทำลายเสีย ในการปลูกพืชคราวต่อไป จะต้องมีการปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยพยายามปรับดินให้มีความเป็นกรดอ่อนๆ เกือบเป็นกลาง และเพิ่มอินทรียวัตถุ ที่เป็นกากพืชสดและปุ๋ยคอก จะช่วยให้โรคนี้ลดความรุนแรงลงได้ระยะหนึ่ง ถ้าจะให้การป้องกันโรคนี้ได้ผลดีขึ้นแล้ว ควรจะทำการปลูกพืชอื่นสลับไม่ต่ำกว่า 5 ปี ไม่ควรใช้ยาเคมีชนิดใดๆ รดหรือฉีดพ่นลงไปในดิน เพราะนอกจากไม่ได้ผลแล้วยังทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นอีกด้วย
3. โรคหัวและรากเน่า เกิดจากเชื้อราในดินที่เรียกว่า ราเม็ดผักกาด เมื่อเกิดโรคนี้ต้นหอมเริ่มมีใบแก่เหี่ยวแห้งไป กาบหัวหอมช้ำน้ำ และมีเส้นใยราสีขาวเป็นเส้นหยาบ มองเห็นชัดด้วยตาเปล่าขึ้นอยู่บนแผล และตามรากซึ่งเน่าเป็นสีน้ำตาล ในดินก็จะพบเส้นใยของราเจริญอยู่ตามโคนต้น นานไปจะพบเม็ดราเริ่มเป็นสีขาวขนาดเล็กและโตขึ้นจนเม็ดมีขนาด ประมาณเม็ดผักกาด สีจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลขึ้นปะปนอยู่กับเส้นใยรา เมื่อเก็บหัวหอมรานี้จะติดไปด้วย และจะทำให้ค่อยๆ เกิดอาการเน่าในระหว่างเก็บรักษาอีกด้วย หัวที่เป็นโรคนี้จึงคัดทิ้งให้หมด เชื้อรานี้มีอยู่ทั่วไปในดิน และทำอันตรายพืช หลายชนิด บางครั้งเชื้อราจะติดตามมากับฟางข้าวที่ใช้คลุมดิน การระบาดเป็นไปได้ช้าๆ และเกิดเป็นกลุ่มๆ และควรจะต้องระมัดระวังเม็ดรามิให้ตกหล่นไปที่อื่น หรือติดเครื่องมือเครื่องใช้ไปยังจุดอื่นๆ ด้วย
การป้องกันกำจัด
ให้ขุดหอมและดินในที่เกิดโรครวบรวมไปเผาทำลายเสีย เพื่อป้องกันมิให้โรคแพร่ระบาดไปทั่วไร่ในการปลูกหอม หรือพืชอื่นๆ ในปีต่อๆ ไปในที่ที่มีโรคนี้ระบาดอยู่ ควรทำการปรับปรุงดินให้มีสภาพเป็น กลาง จะช่วยให้โรคนี้ชะงักไปได้ระยะหนึ่งหรือหายไป ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลีบไปไม่ต่ำกว่า 5 ปี
ให้ขุดหอมและดินในที่เกิดโรครวบรวมไปเผาทำลายเสีย เพื่อป้องกันมิให้โรคแพร่ระบาดไปทั่วไร่ในการปลูกหอม หรือพืชอื่นๆ ในปีต่อๆ ไปในที่ที่มีโรคนี้ระบาดอยู่ ควรทำการปรับปรุงดินให้มีสภาพเป็น กลาง จะช่วยให้โรคนี้ชะงักไปได้ระยะหนึ่งหรือหายไป ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลีบไปไม่ต่ำกว่า 5 ปี
4. โรคใบจุดสีม่วง โรคนี้เกิดจากเชื้อราเข้าทำลายที่ใบ โดยใบหอมที่ถูกทำลายจะเริ่มมีจุดสีขาว แล้วขยายวงกว้างออก เป็นแผลใหญ่รูปไข่ สีเนื้อหรือน้ำตาลอ่อน บริเวณรอบแผลมีสีน้ำตาลแก่และสีม่วงอ่อนไม่แน่นอน ใบที่มีแผลขนาดใหญ่หรือมีหลายแผล ใบจะหักพับลงทำให้ใบหรือปลายใบแห้ง ต้นหอมจะทรุดโทรมทำให้ไม่ลงหัว หรือหัวไม่โต เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วโรคนี้จะเข้าทำลายในระยะเก็บรักษา โดยเชื้อราจะเข้าทางบาดแผลที่บริเวณกอของหอมหัวใหญ่ ทำให้เกิดอาการเน่าเละ กาบหอมที่สดจะหดตัว สีจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ โรคนี้พบระบาดมากทุกปีในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพบว่าเป็นโรคนี้อย่างรุนแรง
การป้องกันกำจัด
ควรทำเช่นเดียวกับการป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนส การใช้ยาก็เช่นเดียวกัน ยกเว้นยาพวก เบนโนมิล เช่น เบนเลท ซึ่งใช้ในการกำจัดโรคนี้ไม่ได้ผล
ควรทำเช่นเดียวกับการป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนส การใช้ยาก็เช่นเดียวกัน ยกเว้นยาพวก เบนโนมิล เช่น เบนเลท ซึ่งใช้ในการกำจัดโรคนี้ไม่ได้ผล
5. โรคราดำ โรคนี้เกิดจากเชื้อราในอากาศ มักเกิดกับหัวหอมที่เก็บเกี่ยวแล้ว เมื่อเก็บรักษาไว้ในที่ๆ มีอากาศชื้น มักจะมีราสีดำเป็นกลุ่มใหญ่ เส้นใยรามีหัวสีดำ ซึ่งจะพุ่งกระจายจากกันได้ง่ายเมื่อมีแรงกระทบกระเทือน เนื้อเยื่อที่มีราขึ้นจะเน่าเปื่อยลึกเข้าไปที่ละน้อย และขยายกว้างออกไป โดยไม่มีขอบเขตจำกัด ทำให้กาบใบเน่าไปทีละชิ้น ส่วนมากเชื้อราจะเจริญเข้าไปทางแผลที่เกิดจากการตัดใบออก โดย เฉพาะใบที่แห้งไม่สนิท ซึ่งเป็นช่องทางให้เกิดโรคนี้ได้ง่าย เชื้อราจึงเข้าไปทำให้กาบใบตรงกลางเน่าเป็นสีน้ำตาล และมีราสีดำขึ้นระหว่างกาบใบด้วย หัวหอมจะมีอาการเน่าและหัวนิ่ม
การป้องกันและกำจัด
1.การเก็บหัวหอม
ควรเก็บเมื่อโคนใบแห้งเสียก่อน ไม่ควรรีบเก็บก่อนอายุหอมแก่
2. เพื่อป้องกันการเกิดโรคนี้ ระหว่างการเก็บรักษา ควรพ่นยาไซเนบหรือมาเนบ ที่หัวหอม โดยเฉพาะที่รอยตัด แล้วผึ่งให้แห้งจึงเก็บ ถ้าจะเก็บไว้นานๆ ควรเก็บในที่ที่อากาศเย็น และไม่ควรกองสุมกันจนเกิดการร้อนระอุ ซึ่งจะทำให้เกิดการเน่าได้ดี
2. เพื่อป้องกันการเกิดโรคนี้ ระหว่างการเก็บรักษา ควรพ่นยาไซเนบหรือมาเนบ ที่หัวหอม โดยเฉพาะที่รอยตัด แล้วผึ่งให้แห้งจึงเก็บ ถ้าจะเก็บไว้นานๆ ควรเก็บในที่ที่อากาศเย็น และไม่ควรกองสุมกันจนเกิดการร้อนระอุ ซึ่งจะทำให้เกิดการเน่าได้ดี
การเก็บเกี่ยว
หอมหัวใหญ่จะเก็บเกี่ยวผลได้ตั้งแต่
110-130 วันนับตั้งแต่หว่านกล้า
ซึ่งก็ต้องเป็นไปตามพันธุ์ที่ปลูกด้วย สังเกตดูว่าใบเริ่มเหลืองและแห้ง
เอามือบบต้นเหนือคอ ถ้ารู้สึกนุ่ม ๆ และฟ่ามๆ
หรือต้นหอมแสดงอาการคอพับหรือบริเวณโคนต้นอ่อน ลำต้นก็จะล้มลง แสดงว่าจวนแก่เก็บได้แล้ว
หอมควรจะเก็บเกี่ยวพรอมกัน ตามปกติเมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว
ควรจะผึ่งตากแดดในแปลงให้แห้งดีเสียก่อน จึงจะเอาเข้าเก็บในยุ้ง
ถ้าปลูกจำนวนมากๆ จะใช้ไม้รวกกลมๆ นาบไปตามแปลงเพื่อให้ต้นหักพับแล้วทิ้งไว้ 7-10 วัน พอให้ต้นแห้งสนิทดีแล้วใช้ของคมๆ เช่นปลายมีด หรือจอบขุดลงไปให้ลึกกว่าระดับของหัวเล็กน้อยแล้วใช้มือดึงต้นขึ้นมา เมื่อถอนแล้วจึงใช้มีดตัดต้นและรากทิ้ง มัดต้นรวมกันเข้าเป็นมัดๆ แล้วตั้งทิ้งไว้ในแปลง ประมาณ 2-3 วัน การตัดต้นทิ้งนั้น ควรตัดให้สูงจากหัวประมาณ 1-3 ซม. ถ้าตัดสั้นกว่านี้อาจจะทำให้เป็นรอยแผลที่หัว และเป็นทางสำหรับเชื้อโรคที่จะเข้าไปในหัวได้ง่าย ส่วนการตัดรากนั้นควรตัดให้ชิดกับหัว
ถ้าปลูกจำนวนมากๆ จะใช้ไม้รวกกลมๆ นาบไปตามแปลงเพื่อให้ต้นหักพับแล้วทิ้งไว้ 7-10 วัน พอให้ต้นแห้งสนิทดีแล้วใช้ของคมๆ เช่นปลายมีด หรือจอบขุดลงไปให้ลึกกว่าระดับของหัวเล็กน้อยแล้วใช้มือดึงต้นขึ้นมา เมื่อถอนแล้วจึงใช้มีดตัดต้นและรากทิ้ง มัดต้นรวมกันเข้าเป็นมัดๆ แล้วตั้งทิ้งไว้ในแปลง ประมาณ 2-3 วัน การตัดต้นทิ้งนั้น ควรตัดให้สูงจากหัวประมาณ 1-3 ซม. ถ้าตัดสั้นกว่านี้อาจจะทำให้เป็นรอยแผลที่หัว และเป็นทางสำหรับเชื้อโรคที่จะเข้าไปในหัวได้ง่าย ส่วนการตัดรากนั้นควรตัดให้ชิดกับหัว
ใบหอมใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุก 3-4 ใบ ลักษณะเป็นรูปดาบ มีความกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร เส้นใบจีบตามยาวลักษณะคล้ายพัด
ที่มา : https://medthai.com
การผึ่ง
หลังจากที่ได้ตัดต้นและรากทิ้งแล้ว
เอาหัวบรรจุในลังไม้หรือถุงก็ได้ตามขนาดเล็กกลางใหญ่
แล้วนำไปผึ่งเก็บไว้ในที่แห้งและร่มมีลมโกรก วางเป็นชั้นๆ อย่าให้สูงเกินกว่า 1 ฟุตหรืออย่าได้นำไปกองสุมไว้
เพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก และจะทำให้หัวชั้นล่างเน่าได้
การผึ่งนั้นจะกินเวลามากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับความแก่ของหัว
ชนิดของภาชนะที่บรรจุและดินฟ้าอากาศโดยทั่วๆ ไปแล้วจะกินเวลาประมาณ 3-4 อาทิตย์
การเก็บ
การเก็บ
ที่เก็บประกอบด้วยไม้ระแนงตีเป็นชั้น
ๆ ประมาณ 2-3 ชั้น
ด้านข้างเปิดโล่งหมดทั้ง 4 ด้าน ถ้าอยู่กลางแจ้ง
ควรทำหลังคาเพื่อบังแดดด้วย นำหัววางเรียงบนชั้นๆ หนึ่งๆ ไม่ควรหนากว่า 1 ฟุต เพื่อให้อากากถ่ายเทได้สะดวก ควรหมั่นดูบ่อยๆ
และค่อยดูแลตัดเอาหัวที่เน่าทิ้งเสีย
ที่มา : http://www.thaikasetsart.com
ลักษณะหอมหัวใหญ่
- ต้นหอมใหญ่ มีความสูงประมาณ
30-40 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดินคล้ายหัวหอม
ลักษณะกลมป้อม มีเปลือกนอกบาง ๆ สีม่วงแดงหุ้มอยู่
แต่เมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
- ใบหอมใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว
ออกเป็นกระจุก 3-4 ใบ ลักษณะเป็นรูปดาบ
มีความกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-40
เซนติเมตร เส้นใบจีบตามยาวลักษณะคล้ายพัด
- ดอกหอมใหญ่ ออกดอกเป็นช่อ
แทงขึ้นมาจากลำต้นใต้ดิน กลีบดอกมีสีขาว
คุณประโยชน์ของหอมหัวใหญ่
การรับประทาน หัวหอมใหญ่ สามารป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้
เพราะว่าหอมหัวใหญ่มีสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยแก้การนอนไม่หลับได้
ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยกำจัดสารตะกั่วและโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับอาหาร
ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของอัมพาต ช่วยรักษาโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด
ช่วยในการขยายหลอดเลือด ช่วยทำให้เลือดไม่ไปอุดตันในหลอดหลอด
ช่วยในการสลายลิ่มเลือดปกป้องหลอดเลือดเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน ลดความอ้วน ช่วยลด คอเลสเตอรอล
ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต
แก้ความดันโลหิตสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยรักษาไข้หวัด แก้หวัดคัดจมูก และช่วยลดน้ำมูก ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ หอมหืด คุณช่วยขับเสมหะได้ ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยแก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิ ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลมพิษ ลดอาการปวดอักเสบ ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยรักษาผิวหนังที่ถูกน้ำร้อนลวกได้
คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวใหญ่ ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 40 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 9.34 กรัม
- น้ำตาล 4.24 กรัม
- เส้นใย 1.7 กรัม
- ไขมัน 0.1 กรัม
- โปรตีน 1.1 กรัม
- น้ำ 89.11 กรัม
- วิตามินบี 1 0.046 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม 2%
- วิตามินบี 3 0.116 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินบี 5 0.123 มิลลิกรัม 2%
- วิตามินบี 6 0.12 มิลลิกรัม 9%
- วิตามินบี 9 19 ไมโครกรัม 5%
- วิตามินซี 7.4 มิลลิกรัม 9%
- ธาตุแคลเซียม 23 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุเหล็ก 0.21 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุแมงกานีส 0.129 มิลลิกรัม 6%
- ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม 4%
- ธาตุโพแทสเซียม 146 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุสังกะสี 0.17 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุฟลูออไรด์ 1.1 ไมโครกรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
คำแนะนำและข้อควรรู้เกี่ยวกับหอมหัวใหญ่
- หอมหัวใหญ่มีฤทธิ์อุ่น ให้รสเผ็ดร้อน ไม่มีพิษ เข้าเส้นลมปราณ ปอด และกระเพาะอาหาร โดยหอมใหญ่ดิบจะมีฤทธิ์สุขุม ส่วนหอมใหญ่สุกจะมีฤทธิ์อุ่น
- แม้หัวหอมใหญ่จะเป็นผักที่มีกลิ่นฉุนมาก จนทำให้คนส่วนใหญ่ไม่อยากรับประทาน หรือหันไปรับประทานแบบชุบแป้งทอด การเจียว หรือการใช้ในการปรุงแต่งอาหารอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามถ้าอยากจะรับประทานแบบให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพจริง ๆ แนะนำว่าให้รับประทานแบบสด ๆ จะดีที่สุด ตอนเด็ก ๆ ผู้เขียนก็ไม่ชอบเช่นกันครับ แต่ปัจจุบันถ้ามีโอกาสก็กินหมดเลยครับ
- การรับประทานหัวหอมใหญ่แบบสด (หรือรับประทานร่วมกับอาหารอื่น ๆ) เพียงวันละครึ่งหัวถึงหนึ่งหัวเป็นเวลา 2 เดือน ก็จะเห็นผลต่อสุขภาพโดยภาพรวมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง
- วิธีการเลือกซื้อหัวหอมใหญ่ ให้มีคุณภาพดีต้องสังเกตดังนี้ มีผิวแห้งและเรียบ หัวมีน้ำหนักมาก เนื้อแน่น ไม่มีส่วนที่นิ่มหรือมีรอยช้ำ ซึ่งจะช่วยทำให้เก็บหอมใหญ่ไว้ได้นานขึ้นนั่นเอง
- วิธีซอยหอมไม่ให้แสบตา มีหลายวิธี เช่น เมื่อปอกเปลือกเสร็จแล้วให้ใช้มีดจิ้มให้รอบหัว แล้วนำลงแช่ในน้ำเปล่าไว้สักครู่ หลังจากนั้นค่อยนำไปหั่น หรืออีกวิธีก็ให้นำหัวหอมใหญ่ไปแช่เย็นประมาณ 15 นาที ก่อนที่จะนำมาหั่น ทั้งสองวิธีดังกล่าวนี้สามารถช่วยลดอณูซึ่งประกอบไปด้วยซัลเฟอร์หรือกำมะถันไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจาย ทำให้ปฏิกิริยาต่าง ๆ ช้าลงได้ จึงช่วยป้องกันและลดการระคายเคืองและอาการแสบร้อนในตาได้
- วิธีการเก็บรักษาหอมหัวใหญ่ วิธีการยืดอายุและการเก็บหอมหัวใหญ่ ก็มีหลายวิธี เช่น การนำหอมใหญ่มาใส่ในถุงกระดาษสีน้ำตาลแล้วพับปิดปากถุง หรืออีกวิธีให้ใช้กระดาษนำมาห่อหัวหอมใหญ่เป็นลูก ๆ และใส่ถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง หรืออีกวิธีก็คือให้ใช้กระดาษฟอยล์ในการห่อหัวหอมใหญ่ ก่อนการนำมาแช่ในตู้เย็น ก็จะช่วยทำให้คงความสดความกรอบ และทำให้ผิวหัวหอมไม่ช้ำอีกด้วย
ข้อควรระวังในการรับประทานหอมหัวใหญ่
สมุนไพรหอมใหญ่ แม้ว่าสรรพคุณหัวหอมใหญ่จะมีอยู่มากมาย แต่เนื่องจากหอมใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์อุ่นและมีรสเผ็ด การนำมาใช้ในแต่ละบุคคล ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายและโรคของผู้ป่วยด้วย ซึ่งฤทธิ์ดังกล่าวสามารถช่วยขับความเย็น ทำให้หยางทะลุทะลวงไปยังส่วนต่าง ๆ ช่วยกำจัดพิษและปัจจัยที่กระทบจากภายนอกเนื่องจากความเย็นได้ดี แต่ไม่มีฤทธิ์ในการบำรุงหยางในร่างกาย เมื่อใช้ไปนาน ๆ อาจจะทำให้ร่างกายเสียพลังได้ง่าย เช่น ในกรณีผู้ป่วยหอบหืดที่มีพลังอ่อนแออยู่แล้ว แทนที่จะมีอาการหอบดีขึ้น แต่กลับจะทำให้อาการหอบหืดกำเริบมากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น ดังนั้นจึงควรรู้ถึงข้อดีและข้อเสียเพื่อนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมด้วยจึงจะเกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างสูงสุดการรับประทานหัวหอมใหญ่ในปริมาณมากหรือรับประทานติดต่อกันนานเกินไป อาจจะทำลายจิตประสาท ทำให้จิตฟุ้งซ่าน ลืมง่าย ความจำเสื่อม มีอาการตามัว พลังและเลือดถูกทำลาย ทำให้เส้นเลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ทำให้โรคต่าง ๆ ที่เป็นอยู่หายช้าและเรื้อรัง และยังไปทำลายสมรรถภาพทางเพศเมื่อคุณมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากความเครียดหรือจากการพักผ่อนไม่เพียงพอมีคำแนะนำว่าไม่ควรจะรับประทานหัวหอมใหญ่ (ข้อมูลจาก : คุณหมอบุชฮอล์มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์)อย่างไรก็ตามไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่สดในขณะที่ท้องว่าง เพราะอาจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ทำให้เยื่อบุในกระเพาะเกิดการอักเสบได้สำหรับผู้ที่ถูกสัตว์มีพิษมีเขี้ยวกัด ไม่ควรรับประทานหอมใหญ่ เพราะการรับประทานหัวหอมใหญ่จะทำให้มีอาการรุนแรงขึ้นทำให้พิษแพร่กระจายอย่างรวดเร็วสิ่งที่คุณควรรู้อีกเรื่องนั้นก็คือหอมใหญ่เป็นหนึ่งในอาหารที่มีกลิ่นแรงและทำให้เกิดกลิ่นปาก(กินแล้วอย่าลืมบ้วนปากแปรงฟันด้วยนะครับ)สำหรับผู้ที่มีกลิ่นตัวแรงอยู่แล้วการรับประทานหัวหอมใหญ่มากเกินไปอาจจะทำให้มีกลิ่นตัวแรงยิ่งขึ้นว่ากันว่าในช่วงเดือนสี่ (ฤดูใบไม้ผลิ) ไม่ควรรับประทานหอมหัวใหญ่ เพราะจะทำให้อาการหอบหืดรุนแรงมากขึ้น
ที่มา : https://medthai.com
อ้างอิง
- ผู้จัดการออนไลน์. “หอมใหญ่ ยาครอบจักรวาลประจำบ้าน“. อ้างอิงใน: หนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 117. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th. [9 ต.ค. 2013].
- มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน คอลัมน์: แพทย์แผนจีน เล่มที่ 321. “หอมหัวใหญ่“. (นพ.วิทวัส (ภาสกิจ) วัณนาวิบูล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th [9 ต.ค. 2013].
ภาพประกอบ : www.flickr.com (by manu_penas, AlexGaldeev, Nikon Nutter 2009, MShades, Kenny Hindgren), www.uma-culinaryworld.com, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น